ชุมชนนิเวศวิถี บทเรียนเปลี่ยนชีวิตและโลก เป็นเรื่องราวที่ผู้เขียน คาเรน ที. ลิตฟิน รวบรวมข้อมูลจากชุมชนนิเวศวิถี 14 แห่งใน 5 ทวีปรอบโลก โดยชุมชนนิเวศวิถีนั้นหมายถึงหมู่บ้านที่กลุ่มคนสมัครใจมาอยู่ร่วมกันอย่างอนุรักษ์ระบบนิเวศและสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด แต่ละชุมชนต่างมีความโดดเด่นแตกต่างกัน เช่น เอิร์ธฮาเวนในสหรัฐที่สร้างบ้านฉาบด้วยดิน ชุมชนที่เน้นไปที่การตื่นรู้ด้านจิตวิญญาณอย่าง ออโรวิลล์ในอินเดีย หรือ สรรโวทัยในศรีลังกา ชุมชนที่สร้างนวัตกรรมสารสกัดทางชีวภาพอย่างโคะโนะฮานะในญี่ปุ่น
ผู้เขียนเปรียบชุมชนนิเวศวิถีที่ดีว่าเป็นเสมือนบ้านที่ควรมีหน้าต่าง 4 บานได้แก่ นิเวศวิทยา(Ecology) เศรษฐศาสตร์(Economics) ชุมชน(Community) และจิตสำนึก(Consciousness) หรือ E2C2 เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงสอดคล้องตลอดจนพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นจากภายในและภายนอกได้ นอกจากนี้ชุมชนนิเวศวิถีที่ดียังควรหลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์อำนวยความสะดวกราคาสูง ซึ่งถือเป็นต้นทุนแฝงที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางอ้อม หรืออาจเรียกว่ารอยเท้านิเวศ แต่ควรหันมาใช้วัสดุสิ่งของที่หาได้จากภายในชุมชน รวมถึงการเดินทางโดยจักรยานเพราะจะไม่สร้างรอยเท้าคาร์บอนอันก่อให้เกิดมลพิษกับโลก การจะสร้างชุมชนนิเวศวิถีที่เป็นปึกแผ่นขึ้นมาได้นั้น ผู้คนในชุมชนต้องเกิดความผูกพันธ์ ทลายอัตตาที่แบ่งแยกแต่ละคนออกจากกัน เกิดเจตนารมณ์และวิสัยทัศน์ที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีความเห็นพ้องต้องกันที่จะมุ่งมั่นทำประโยชน์ต่อชุมชนไปในทิศทางเดียวกัน ผ่านการสื่อสารอย่างสันติ การรับฟังด้วยเมตตาจากเบื้องลึกของจิตใจ เผยศักยภาพของแต่ละคนออกมาเพื่อเป็นประโยชน์แก่ชุมชนให้มากที่สุด
ซึ่งการจะสร้างชุมชนนิเวศวิถีขึ้นมาได้อย่างยั่งยืนนั้น ผู้เขียนเสนอหลักการ 5 ข้อคือ 1. การคิดเชิงระบบ คือการจัดวางระบบในลักษณะที่ส่งเสริมและเพิ่มพลังให้กับทุกกิจกรรม ตั้งแต่การคมนาคม การก่อสร้าง การเพาะปลูกผลิตอาหาร 2. หลักการ “เริ่มต้นที่ท้องถิ่น” คือเริ่มต้นจากระดับพื้นฐานที่สุดคือละแวกบ้านขึ้นมาจนเป็นระดับเมืองใหญ่ที่รัฐบาลเข้ามาให้การสนับสนุน 3. การแบ่งปัน คือหัวใจของระบบนิเวศและชุมชน ให้ทุกๆ สิ่งรอบตัวเป็น “พื้นที่ว่างระหว่างตัวตนของกันและกัน” ลดความเป็นปัจเจกเพื่อให้เกิดจิตสำนึกร่วม 4. การออกแบบ ที่เล็งการณ์ไกลถึงอนาคต คือการเตรียมพร้อมที่มองไกลและรองรับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต 5. พลังเชิงบวก คือพลังงานในด้านที่ริเริมสร้างสรรค์ที่จะช่วยโน้มน้าวผู้คนให้หันมาร่วมสร้างชุมชนนิเวศวิถีขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม
ซึ่งการจะสร้างชุมชนนิเวศวิถีขึ้นมาได้อย่างยั่งยืนนั้น ผู้เขียนเสนอหลักการ 5 ข้อคือ 1. การคิดเชิงระบบ คือการจัดวางระบบในลักษณะที่ส่งเสริมและเพิ่มพลังให้กับทุกกิจกรรม ตั้งแต่การคมนาคม การก่อสร้าง การเพาะปลูกผลิตอาหาร 2. หลักการ “เริ่มต้นที่ท้องถิ่น” คือเริ่มต้นจากระดับพื้นฐานที่สุดคือละแวกบ้านขึ้นมาจนเป็นระดับเมืองใหญ่ที่รัฐบาลเข้ามาให้การสนับสนุน 3. การแบ่งปัน คือหัวใจของระบบนิเวศและชุมชน ให้ทุกๆ สิ่งรอบตัวเป็น “พื้นที่ว่างระหว่างตัวตนของกันและกัน” ลดความเป็นปัจเจกเพื่อให้เกิดจิตสำนึกร่วม 4. การออกแบบ ที่เล็งการณ์ไกลถึงอนาคต คือการเตรียมพร้อมที่มองไกลและรองรับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต 5. พลังเชิงบวก คือพลังงานในด้านที่ริเริมสร้างสรรค์ที่จะช่วยโน้มน้าวผู้คนให้หันมาร่วมสร้างชุมชนนิเวศวิถีขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม
ยุคแอนโทรโปซีนที่มนุษย์เป็นใหญ่ ทำให้เราตระหนักถึงความสำคัญของหน้าที่และเป้าหมายในฐานะเผ่าพันธุ์ที่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับโลกได้มากที่สุด เราควรที่จะจับมือร่วมกันก้าวพ้นกรอบความเป็นปัจเจกนิยม เข้าสู่ความเป็นตัวตนใหม่ในฐานะของพลเมืองโลก เราทุกคนสามารถเชื่อมโยงกันและกัน เพื่อเข้าถึงปัญญาเชิงวิวัฒนาการที่แฝงอยู่ในตัวเราทุกคนได้ผ่านการเข้าร่วมกับชุมชนนิเวศวิถีที่เน้นการตื่นรู้ทางปัญญา เมื่อเรานำหลัก E2C2 มาใช้เราจะเริ่มมีพลังในการเปลี่ยนแปลงอย่างสร้างสรรค์ให้กับผู้คนและชุมชนไกล้ตัว เป็นตัวอย่างที่ดีและเป็นดั่งเมล็ดพันธุ์แห่งความหวังที่จะช่วยปกป้องรักษาโลกใบนี้ให้คงอยู่ต่อไปได้อย่างมั่นคง และสร้างเส้นทางแบบอย่างให้คนรุ่นต่อๆ ไปได้อย่างยั่งยืน